Office syndrome และการดูแลใส่ใจสำหรับองค์กร

เมื่อวานนี้ เป็นประสบการณ์ Panel discussion ระหว่างสายแพทย์ สายบริหารธุรกิจ และ สาย tech ที่ว่าด้วยเรื่อง Office syndrome ที่ออกมาได้หลากมิติ หลายมุมมองมากครับ
.
เนื้อหาค่อยๆเริ่มตั้งแต่ basic ระดับบุคคล
ที่เริ่มมาจาก Pain point ว่า “ฉันทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกายแล้ว” ไม่เป็นไร เรา creative ท่าออกกำลังกายที่เก้าอี้ทำงานนั่นแหละ จะยืดเหยียด จะเล่นเวท ใช้ thera band ก็สามารถออกได้ โดยไม่ต้องไปไหน รวมถึงการเก็บสถิติผู้เข้าร่วมงานสดๆว่ามีคนนั่งผิดท่า นั่งนาน นั่งโต๊ะเก้าอี้ผิดระดับ 95-100%
.
ไปยังระดับ HR
ว่า Pain point ในโครงสร้างองค์กรก็สำคัญ
แม้ HR อยากสร้าง Healthy organization แต่ผู้จัดการฝ่ายไม่เข้าใจ วัฒนธรรมก็ไม่เกิดจนถึงระดับปฏิบัติการ
ในอีก Pain point หนึ่งที่สำคัญคือ พนักงานไม่รู้จักสิทธิการรักษาของตนเอง ประกันฉันเป็นอย่างไร รักษาอะไรได้บ้าง การเลือกผู้ให้บริการที่ไหนดี ความเข้าใจที่ดีช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลส่วนบุคคลและองค์กรได้ บุคลากรลดค่าครองชีพ บริษัทลดต้นทุนค่าเบี้ยประกันรายปี
.
มุมมองฝั่งคุณเจมส์ CEO Wirtual W James Phornwatanakul ซึ่งเป็น Applicaion ช่วยติดตามการออกกำลังกายของบุคลากรในที่ทำงาน แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยองค์กรสร้างสุขภาพที่ดีมาก ทั้งการทำ Gamification ในการติดตามจำนวนก้าวการเดินของพนักงานมาขิงกัน ให้ชนะได้ไป outing วัน 1 วัน ใครที่บ๊วยทำเวรทำความสะอาดที่ทำงาน พร้อม feature ที่สวยน่าใช้ ไม่โบราณเลย เป็นตัวอย่างทางเลือกใหม่ๆที่องค์กรอาจปรับมาใช้
.
ในระดับ CEO
บทบาทที่สำคัญของ ceo คือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งเสริมให้บุคลากรออกกำลังกาย และเป็น role model ที่ดี ผมชอบ case ที่มีบริษัทนึงไปเตะบอลกับ partner ทุกวันพฤหัส และ ceo ก็ไปเตะด้วย นั่นยิ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมการส่งเสริมสุขภาพที่ดีและได้ทำความสนิทสนมภายในและระหว่างองค์กรเช่นกัน
.
รวมถึงในมุมมองของคุณแซม พลสัน Ponsan Noknoum Co-founder ของ GetTalks media ซึ่งเป็นผู้บริหารแล้ว ได้มอบเคล็ดลับที่สำคัญคือการแบ่งเวลาชีวิตให้ดีแบบผู้บริหาร ด้วยสูตร 8-8-8
8 ชั่วโมงสำหรับงาน
8 ชั่วโมงสำหรับกิจวัตรประจำวัน
8 ชั่วโมงสำหรับการพักผ่อน
หากไม่ตรงเวลากัน อาจจะชดเชยกันได้ในวันต่อไป
.
ในระดับ International
สัปดาห์ที่ผ่านมา งาน Cannes creative business transformation lions ได้ประกาศรางวัล Creative culture ให้กับ Nikkei inc. เรื่องการสร้างและใช้ตัวชี้วัด GDW (Gross domestic wellbeing) ซึ่งบอกถึง work life balance ของคน wellbeing การมีบุตรง่ายเป็นต้น มาแสดงผลร่วมกับ GDP
.
เพราะเรารู้ว่ายิ่ง Productivity มาก ยิ่งโตจริงแต่ยิ่ง Wellbeing คนทำงานตกลง เพราะฉะนั้นจึงมีการผลักดัน GDW ไปใช้กับภาครัฐบาลเป็นนโยบายประเทศ ควรคู่กับการดำเนินการผ่านบริษัทขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น รวมถึงแสดงผล GDP คู่กับ GDW ซึ่งแสดงว่า ประเทศเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมๆกัน
.
สุดท้ายมองภาพระดับโลกแล้วถอยย้อนกลับมาสู่ที่ระดับบุคคล
ง่ายที่สุด ขอให้เรา “ใส่ใจ” ดูแลตัวเองก่อน เรื่องอื่นจะตามมาเอง
.
เพราะเมื่อเราดูแลสุภาพให้ดี
ผลงานก็จะเด่น
บริษัทจะดังเพราะเกิดการพัฒนา
.
และจะไม่ปวดคอบ่าเช่นกันครับ
.
ขอบคุณทีม CREATIVE TALK เก่ง สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม ฉวีวรรณ คงโชคสมัย ที่เชิญผมไปร่วมสนุก ทีม Speaker พิธีกร Tossapol Leongsuppon และ Curator ที่เหลาและซ้อมบทให้กลมกล่อมและสนุก enjoy มากๆ
ทีมปลาบู่ที่เป็นกองเชียร์ข้างล่าง
.
เชื่อว่าเป็นวันที่ดีของผมและทุกคนทั้งบนเวที และยินดีว่าที่ได้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ให้ผู้ฟังทุกท่านแข็งแรงครับ