ปวดกล้ามเนื้อสะโพก ร้าวลงขา ยืดกล้ามเนื้อยังไงดี

สัปดาห์นี้ มีคนไข้ที่น่ารักของผมหลายๆท่านเลยมาปรึกษาด้วยอาการปวดสะโพกที่ร้าวลงต้นขาและน่องด้านหลังในสัปดาห์นี้ ซึ่งเมื่อตรวจอาการแล้วพบว่าจุดที่พบว่าเป็นปัญหาทุกคนมาจากกล้ามเนื้อสะโพกด้านข้างหดเกร็ง (โรคเดียวกับออฟฟิศ ซินโดรม) ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด บ่อยกว่าหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท(แต่อาการคล้ายกัน ต้องแยกจากกัน) อีกครับ . กล้ามเนื้อมัดนี้ (gluteus minimus)มีหน้าที่กางสะโพกไปด้านข้าง เมื่อมีการตึงจากการนั่งนาน วิ่งนานหรือไม่ใช้งานนานจนอ่อนแรงมากแล้วกลับมาใช้งานหนัก กล้ามเนื้อจะหดเกร็งและแสดงอาการร้าวลงต้นขาด้านหลัง และน่องได้(ตามรูปทางซ้ายมือ) ซึ่งเราจำเป็นที่จะต้องยืดกล้ามเนื้ออย่างถูกต้องและเฉพาะมัดเพื่อรักษาอาการ ก็คือให้นอนหงาย เอาขาข้างเดียวกับสะโพกที่ปวดไขว่ห้างแบบผู้ชายกลางอากาศ แล้วนำมือประสานอ้อมใต้เข่าด้านที่ไม่ปวดแล้วยกขึ้นมาทำ(ตามรูปขวา) ค้างไว้นับ 1-20 ทำ10ครั้งต่อวัน ทั้งสองข้างยิ่งดีครับ . แต่คราวนี้ คนไข้มักกลับมาถามอีกว่า ยืดแล้วเหมือนไม่ถูกจุดเลย จะทำยังไงดีครับ . คราวนี้ต้องกลับมาดูวิธีการยืดแล้วว่าถูกต้องหรือไม่ ผมแนะนำปรับท่าตามนี้ครับ 1. การยืดกล้ามเนื้อต้องค้างนานอย่างน้อย 20 วินาทีครับ ผมแนะนำว่า ไม่ยืดแล้วปล่อยทันที ตามงานวิจัยมีบอกว่า การยืดกล้ามเนื้อนานๆแต่น้อยครั้ง ดีกว่าการยืดด้วยเวลาน้อยๆ แต่หลายครั้งครับ ผมจึงให้ทุกคนนับ 1-20 เลย เพราะผมพบว่าชอบนับเร็วกันถ้านับแค่ 1-10 2. ยืดแล้วรู้สึกกึกกักหรือเจ็บ อาการเหล่านี้สามารถเกิดจากการยืดที่แรงหรือเร็วมากเกินไป ให้ค่อยๆยืดอย่างช้าๆ ท่าทางเป็นไปอย่างสบาย การยืดกล้ามเนื้อที่ดีต้องไม่เจ็บครับ 3. […]

การยืดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่

ปวดบ่าขึ้นท้ายทอย คอตกหมอน ปวดสะบักลงแขน เป็น office syndrome ยืดกล้ามเนื้อยังไงดีนะ.อาการเหล่านี้มักเกิดจากโรคกล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือ office syndrome นั่นเองครับ คิดว่าทุกท่านคงเคยเคยยืดกล้ามเนื้อมัดเหล่านี้กันมาแล้ว วันนี้ผมขอมาแชร์และทบทวน “เทคนิคการยืดกล้ามเนื้อบ่าและสะบัก” สามมัดที่พบบ่อยมากที่สุดกัน.1. กล้ามเนื้อบ่า (upper trapezius) ตัวพ่อแห่ง office syndrome ถ้าปวดร้าวขึ้นท้ายทอย ขึ้นขมับ หรือปวดกราม ให้คิดถึงมัดนี้เลย (รูปซ้าย).วิธีการยืด: ให้เริ่มด้วยเอามือด้านที่มีอาการสอดใต้ก้นไว้หรือจับใต้เก้าอี้ และใช้มืออีกข้าง “อ้อมท้ายทอยไปแตะติ่งหูจากทางด้านหลัง” เหตุผลคือแนวกล้ามเนื้อมัดนี้ทำมุมเฉียงจากบ่าไปด้านบนและด้านหน้านิดนึงไปเกาะที่ท้ายทอย การยืดมุมนี้จะตรงกับแนวของกล้ามเนื้อมากกว่าการยืดไปด้านข้างเฉยๆครับ แต่เราสามารถยืดพร้อมกับการเอียงศีรษะไปข้างๆด้านตรงข้ามได้ เพื่อให้โดนทุกส่วนของกล้ามเนื้อได้ครับ.2. กล้ามเนื้อบ่าด้านบนติดสะบัก (levetor scapulae) มัดนี้คือสาเหตุของอาการ “คอตกหมอน” หมุนคอแล้วปวด หันคอไม่ได้ ไม่ใช่ผีเกาะคอนะครับ แต่คือกล้ามเนื้อมัดนี้ ซึ่งมีหน้าที่ยกสะบักขึ้น (รูปกลาง).วิธีการยืด: ก้มศีรษะไปทางด้านหน้าแล้ว “ใช้มือข้างที่ไม่ปวดเอียงศีรษะทำมุมกับแกนกลางลำตัว 20-30 องศา” จะโดนมัดนี้พอดี.3. กล้ามเนื้อสะบัก (infraspinatus) เป็นมัดที่พบบ่อยมาก และชอบหลอกว่าเป็นอาการของโรคอื่น ซึ่งมักทำให้ปวดบริเวณสะบัก ปวดด้านในสะบัก […]

ปวดหัว เกิดจากอะไร

ปวดหัวเหมือนไมเกรนแทบหลุด ต้องเป็นเส้นเลือดสมองแตกแน่เลย หรือจริงๆเป็นแค่กล้ามเนื้อ คอ บ่าจาก office syndrome . คุณเป็นอีกคนหนึ่งมั้ยครับที่เคยปวดหัวบ่อยแล้วไม่หายซักที แล้วคิดว่าต้องรีบไป CT scan สมองกันให้มันรู้ไปเลยว่าสมองยังอยู่ดีหรือเส้นเลือดสมองแตกไปแล้วรึยัง ซึ่งถ้าคุณมีประกันสุขภาพครอบคลุมหรือชำระค่าตรวจได้ จะลองดูก็ไม่เสียหายอะไร . แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราลองมาดูหลักการคิดง่ายๆกันครับ ว่าใช่สมองจริงหรือไม่ . หากลองมองทางฝั่งคุณหมอเวชศาสตร์ฟื้นฟู จะคิดแยกสาเหตุง่ายๆก่อนว่า อาการเป็นจากสมอง ไมเกรน หรือกล้ามเนื้อหดเกร็ง หรือเป็นจากอื่นๆอีก เช่น ข้อกระดูกคอเสื่อม หรือหลอดเลือดก็เป็นได้ . เพราะสมอง มักไม่ค่อยมาด้วยเจ็บ ถ้าเจ็บให้คิดถึงอย่างอื่นด้วย . สมอง มีหน้าที่สั่งให้เราขยับตัวได้ และรับความรู้สึกเรา เพราะฉะนั้น อาการที่มักเกิดขึ้นคือ อ่อนแรงครึ่งซีก เดินเซ กลืนลำบาก เสียงเปลี่ยนไป เห็นภาพซ้อน หรือ ชาครึ่งซีก ความรู้สึกผิดไป จนไปถึงการรู้ตัวและสติหมดไป ถ้าไม่มีก็ไม่น่าใช่สมองครับ บางคนอาจเคยมีประสบการณ์ว่าไป CT scan มาแล้วพบว่ามีความผิดปกติบ้างแต่ไม่สัมพันธ์กับอาการ คุณหมอที่ตรวจประเมินจึงอาจบอกว่าเป็นแค่ความเสื่อมตามอายุและไม่สัมพันธ์กับอาการปวดหัวก็เป็นได้ . […]

สรุป 20 วิธีรักษาเข่าเสื่อมแบบไม่ต้องผ่าตัด

ข้อเข่าเสื่อม ไม่อยากผ่าตัด ทำอะไรได้บ้าง?20 วิธี สำหรับรักษาผู้เป็นเข่าเสื่อมก่อนจะไปผ่าตัด และ แนวคิดในการดูแลตนเองเบื้องต้นโดยหมอวิน นพ.ชินะโชติ ลิขิตสมบูรณ์ แพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู.วันนี้เราจะมาดูกันครับว่า นอกจากการรักษาเข่าเสื่อมโดย วินิจฉัยแล้วเอายาไปกิน รักษาอย่างไรได้อีกบ้าง เริ่มต้นจากวินิจฉัยให้ถูก:ต้องคิดเสมอครับว่าการปวดนั้นใช่เข่าเสื่อมจริงมั้ย ก่อนบอกว่าเป็นเข่าเสื่อมเพราะอาการเจ็บเข่า ไม่เท่ากับ เข่าเสื่อมครับ อาการเข่าเสื่อมมักปวดขณะยืน เดินแล้วปวด เพราะเกิดจากน้ำหนักตัวกดลงไป นั่งพักนอนพักแล้วดี แต่ถ้าไม่ใช่แบบนี้อาจจะเป็นโรคอื่นจากกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หรือหมอนรองกระดูกผสมได้ บางครั้งเป็นแค่โรคเดียว แต่บางครั้งก็มีมากถึงสามสี่โรคพร้อมกัน หรือบางครั้งอาการปวดนั้นเกิดจากกล้ามเนื้อต้นขาเป็นหลัก ไม่ใช่จากเข่าเสื่อมจริง เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องวินิจฉัยให้ครบและถูกต้องก่อน อาการจึงจะดี.อย่างไรก็ตาม เราอาจจะทดลองรักษาเบื้องต้นเองได้ แต่ถ้ารักษาแล้วสองสามครั้งไม่ดีขึ้น ต้องพบแพทย์นะครับ เพราะจะช่วยเรื่องการตรวจร่างกายที่แม่นยำได้ ** เน้นย้ำว่า การตรวจร่างกายเข่าอย่างละเอียดจะได้การวินิจฉัยโรคอย่างครบถ้วน และอาการปวดหายเร็ว ไม่ควรกระโดดไปที่การรักษาเลยนะครับ ** เพราะนอกจากข้อเข่าแล้ว สาเหตุอาจมาจาก กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น หมอนรองกระดูกเข่า หรือ อาจมามาไกลจาก หลัง สะโพก และเท้าก็ได้ รวมถึงบางภาวะที่การรักษาหลักคือการผ่าตัด ก็จำเป็นที่จะต้องไปผ่าตัดครับ เช่น ข้อเสื่อมมากเกินไป มีหมอนรองกระดูกขาดใหญ่ […]

Office syndrome และการดูแลใส่ใจสำหรับองค์กร

เมื่อวานนี้ เป็นประสบการณ์ Panel discussion ระหว่างสายแพทย์ สายบริหารธุรกิจ และ สาย tech ที่ว่าด้วยเรื่อง Office syndrome ที่ออกมาได้หลากมิติ หลายมุมมองมากครับ.เนื้อหาค่อยๆเริ่มตั้งแต่ basic ระดับบุคคลที่เริ่มมาจาก Pain point ว่า “ฉันทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกายแล้ว” ไม่เป็นไร เรา creative ท่าออกกำลังกายที่เก้าอี้ทำงานนั่นแหละ จะยืดเหยียด จะเล่นเวท ใช้ thera band ก็สามารถออกได้ โดยไม่ต้องไปไหน รวมถึงการเก็บสถิติผู้เข้าร่วมงานสดๆว่ามีคนนั่งผิดท่า นั่งนาน นั่งโต๊ะเก้าอี้ผิดระดับ 95-100%.ไปยังระดับ HRว่า Pain point ในโครงสร้างองค์กรก็สำคัญแม้ HR อยากสร้าง Healthy organization แต่ผู้จัดการฝ่ายไม่เข้าใจ วัฒนธรรมก็ไม่เกิดจนถึงระดับปฏิบัติการในอีก Pain point หนึ่งที่สำคัญคือ พนักงานไม่รู้จักสิทธิการรักษาของตนเอง ประกันฉันเป็นอย่างไร รักษาอะไรได้บ้าง การเลือกผู้ให้บริการที่ไหนดี ความเข้าใจที่ดีช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลส่วนบุคคลและองค์กรได้ บุคลากรลดค่าครองชีพ บริษัทลดต้นทุนค่าเบี้ยประกันรายปี.มุมมองฝั่งคุณเจมส์ […]

20 ข้อสรุปการดูแล office syndrome

จากงาน Creative talk 2022โดยหมอวิน นพ.ชินะโชติ ลิขิตสมบูรณ์ (1) 85% ของมนุษย์ออฟฟิศ เป็น office syndrome อย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญมากในการเรียนรู้เพื่อดูแลตนเอง (2) เรามักจะนึกถึงการไปหาหมอเพื่อรักษามากมาย จริงๆแล้วการรักษาที่ดีที่สุดแต่เราลืมมากที่สุด เริ่มจากตัวคุณเอง นั่นก็คือ การปรับพฤติกรรมท่าทางในการใช้ชีวิตซึ่งมักเป็นสาเหตุหลัก (3) วิธีทดสอบดูว่าคุณมีความเสี่ยงเป็น office syndrome มั้ย ให้ลองบีบกล้ามเนื้อบ่าดูว่าเป็นก้อนหรือบีบแล้วปวดมั้ย ถ้ามีก็แปลว่ามีความเสี่ยง หรือง่ายกว่านั้น ให้ลองเอาหูไปแตะที่บ่า หรือก้มตัวเอามือแตะปลายเท้า หากทำไม่ได้แปลว่ากล้ามเนื้ออาจจะตึงและมีความเสี่ยงในการเป็น office syndrome ได้ (4) ออฟฟิศซินโดรมเกิดจาก 2 สาเหตุ 1. ทำผิด คือการใช้ร่างกายผิดท่าจากที่ควรทำ 2. ทำนาน คือ ทำท่าเดิมค้างไว้นานๆ ซึ่งพฤติกรรมที่พบบ่อยได้แก่ ท่ายืน ท่านั่งและท่านอน (5) พฤติกรรมการยืน โดยเฉพาะการยืนบนรถไฟฟ้า คนเรามักเอื้อมแขนเกาะบาร์ในระยะที่เกินเอื้อมถึง […]